วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ชนิดของคำในภาษาไทย

บทนำ
          ภาษาไทยที่เราใช้พูดและเขียนเพื่อการศึกษานั้นประกอบขึ้นด้วยหน่อยที่มีขนาดต่างๆกัน โดยเริ่มจากขนาดเล็กสุด โดยเริ่มจากขนาดเล็กที่สุดไปหาขนาดใหญ่ที่สุด คือ เสียง พยางค์ คำ วลี ประโยค และสัมพันธสาร โดยทั่วไปไปเรามักมองว่าหน่อยเสียงที่เล็กประกอบขึ้นเป็นหน่อยใหญ่ เช่น คำประกอบขึ้นเป็นวลี วลีประกอบขึ้นเป็นประโยค ลักษณะดังกล่าวทำให้เห็นว่าหน่อยทางภาษาต่างๆ มีขนาดไม่เท่ากันแต่ในความเป็นจริงแล้ว หน่อยทางภาษาซึ่งทำหน้าที่ในระดับที่ใหญ่กว่าไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยหน่อยที่เล็กกว่าเสมอไป บางครั้งหน่อยเล็กเพียงหน่อยเดียวอาจทำหน้าที่ในระดับใหญ่ก็ได้ เช่น แม่ถามลูกว่า กินข้าวมั้ยลูกตอบว่า กินหน่วยภาษา กินทำหน้าที่เป็นประโยคซึ่งละหน่วยประธานและธรรมไว้ ความสัมพันธ์กันทางหน่วยภาษาในข้างต้นเป็นไปตามแนวคิดเรื่องวากยสัมพันธ์ (syntax) ซึ้งเป็นสาระสำคัญของการนำเสนอในหน่วยนี้
          ระบบกลุ่มคำในภาษาไทยที่จะกล่าวถึงในที่นี้ เป็นการพิจารณาถึงคำที่เรียงต่อเนื่องกันเป็นกลุ่ม และกลุ่มที่ใหญ่สุดคือสัมพันธสาร ในสัมพัธสารมีกลุ่มที่เล็กลงมาคือ ประโยค ในประโยคจะมีกลุ่มของวลีซึ่งประกอบมาจากคำ แต่ในด้านของการนำเสนอจะเริ่มจากหน่วยที่เล็กไปหาหน่วยที่ใหญ่ ดังนั้นในบทนี้จึงแบ่งประเด็นสำคัญออกเป็น 3 ประการ ได้แก่ ชนิดของคำในภาษาไทย วลีในภาษาไทย และประโยคในภาษาไทย

          การจำแนกชนิดของคำในภาษาไทยมีการศึกษากันมานานพอสมควร และกระทำกันอย่างหลากหลาย นักวิชาการต่างก็ใช้แนวคิดและทฤษฎีที่แตกต่างกันออกไป อาทิ พระยาอุปกิตศิลปะสาร 2511  จำแนกได้ 7 ชนิด วิจินตน์ ภาณุพงศ์ 2542 จำแนกได้ 26 ชนิด และสมทรง บุรุษพัฒน์ 2526 จำแนกได้ 18 ชนิด นอกจากนี้ในหนังสือ บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3 ชนิดของคำ วลี ประโยคและสัมพันธสาร สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สถาบันภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดดำเนินการ โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินต์ ภาณุพงศ์ เป็นประธานกรรมการ ซึ่งได้จำแนกคำออกเป็น 12 ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำช่วยกิริยา คำวิเศษณ์ คำที่เกี่ยวกับจำนวน คำบอกกำหนด คำบุพบท คำเชื่อม คำลงท้าย คำอุทาน และคำปฎิเสธ เป็นการจำแนกโดยใช้เกณฑ์หน้าที่ เกณฑ์ตำแหน่งที่คำปรากฏและสัมพันธ์กับคำอื่น และเกณฑ์ความหมาย ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ผู้เขียนจึงอาศัยการจัดแบ่งชนิดของคำดังกล่าวทั้ง 12 ชนิด มีรายละเอียดดังต่อไปนี้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น