คำกริยา

3. คำกริยา
              คำกริยา หมายถึง คำที่ทำหน้าที่เป็นกริยาหรือกริยาวลี ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของประโยค หากไม่มีกริยา ภาษาหน่วยนั้นก็ไม่ใช่ประโยค เช่น กิน นั่น เดิน นอน ร้องไห้ จำแนกได้ 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
          3.1 คำกริยาที่มีหน่วยกรรม
                     3.1.1 คำกริยาสกรรม หรือสกรรมกริยา คือคำกริยาที่มีกรรมหรือนามวลีตามหลัง 1 หน่วย
                   3.1.2 คำกริยาทวิกรรม หรือทวิกรรมกริยา คือกริยาที่มีหน่ยกรรมหรือนามวลีตามหลัง 2 หน่วย
          3.2 คำกริยาที่ไม่มีหน่วยกรรม
                   คำกริยาชนิดนี้ไม่ต้องมีหน่วยกรรมตามหลังก็ทำให้ประโยคนั้นสื่อความหมายได้สมบูรณ์ จำแนนกได้ 5 ประเภท ดังนี้
                   3.2.1 คำกริยาอกรรม หรืออกรรมกริยา คือกริยาที่ไม่ต้องมีหน่วยกรรมหรือนามวลีตามหลังก็สื่อความหมายได้ครบถ้วน
3.2.2 คำกริยาคุณศัพท์ คือ คำกริยาที่แสดงคุณสมบัติหรือสภาพของคำนามหรือคำบุรุษสรรพนาม เช่น ดี ชั่ว สวย งาม สูง ต่ำ คำกริยาคุณศัพท์ต่างจากกริยายาอกรรมที่คำกริยาคุณศัพท์สามารถใช้ร่วมกับคำว่า “กว่า ที่สุด” และคำกริยาคุณศัพท์สามารถปรากฏตามหลังคำลักษณะนามได้
                   3.2.3 คำกริยาต้งเติมเต็ม หรือวิกตรรถกรยา คือ คำกริยาที่จำเป็นต้องมีกรรมหรือนามวลีตามหลังเสมอ เพื่อเติมเต็มใจความของประโยคให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น เหมือน คือ คล้าย เท่า เปรียบดั่ง
                   3.2.4 คำกริยานำ คือ คำกริยาที่ต้องปรากฏนำหน้ากริยาอื่นเสมอ โดยต้องปรากฏร่วมกับกริยาที่ตามมาในรูปของกริยาเรียง เช่น ชอบ อยาก ห้าม โปรด ตั้งใจ
                    3.2.5 คำกริยาตาม คือ คำกริยาที่ต้องปรากฏตามหลังคำกริยาอื่นเสมอ อาจปรากฏตามหลังติดกันหรือตามหลังหน่วยกรรมก็ได้ เช่น ไป มา ขึ้น เอา เสีย ออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น